วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความพระพุทธทาสภิกขุเกี่ยวกับครู

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL
เนื่องด้วยวันที่ 16 มกราคมของทุกปีนั้นเป็นวันครู และทางหอจดหมายเหตุพุทธทาสได้ค้นพบสมุดบันทึกคำบรรยายของท่านพุทธทาสที่เกี่ยวกับความหมายของคำว่า "ครู" ซึ่งท่านได้บรรยายไว้ ณ ที่ประชุมครูอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2495 ดังนั้นทางหอจดหมายเหตุพุทธทาสจึงขอนำมาให้ทุกท่านได้อ่านใน ณ ที่นี้ 
คำบรรยายของพระราชชัยกวี  “พุทธทาสภิกขุเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2495ณ ที่ประชุมครูอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
..................................
อาตมารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมกันทำประโยชน์แก่ประเทศชาติในด้านการศึกษาวันนี้  ซึ่งความจริงวิชาที่เกี่ยวกับครูที่จะนำมาบรรยายก็ไม่มี  แต่ที่มีบ้างที่เกี่ยวกับคำว่าครู”  ซึ่งถ้าครูรู้แล้ว ก็มีประโยชน์  จึงจัดเป็นความรู้เบ็ดเตล็ด  วันนี้จะได้บรรยายถึงเรื่องครูตามหลักแห่งศาสนา  คำว่าครูนี้  เท่าที่เข้าใจกันมีหลายทาง  แต่อีกทางหนึ่ง คือ ทางศาสนา  ชั้นแรกที่อาตมาได้นึกถึงวันนี้ก็คือ  หน้าที่ของครูที่ได้มาร่วมประชุมกันเพื่อปรับปรุงการสอนแบบใหม่  เป็นวิธีที่สอนแบบวิธีใหม่  แทนที่ฟังและอ่านเฉยๆ ตามแบบเก่า  จริงอยู่วิธีใหม่นี้อาจจะหมดเปลืองมาก เหนื่อยมาก และยุ่งมาก  ซึ่งอาจจะเป็นทางที่น่าเบื่อหน่าย  ทั้งที่เพราะในขั้นแรกๆ เรายังไม่มีสิ่งของที่จะนำมาใช้เป็นอุปกรณ์การสอนให้ครบถ้วน  ซ้ำยังไม่มีความชำนาญเพียงพอ  อาจจะเบื่อหน่ายบ้างเป็นธรรมดา  แต่การสอนวิธีใหม่นี้   
เมื่อจัดกันขึ้นลงรูปรองดีแล้ว  ก็จะได้รับผลมากกซึ่งเป็นแนวที่ตรงกับแนวของพระพุทธเจ้าเคยใช้  แม้พระองค์จะมิได้สอนทางโลกทางวัตถุก็ตาม  แต่ท่านก็อาศัยวัตถุประกอบ  โดยอาศัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า  แล้วนำเอาเรื่องเหล่านั้นมาสอน เช่น เมื่อพระองค์เดินไปกับพระภิกษุที่เป็นสาวก  ครั้งได้เห็นไฟไหม้ขอนไม้อยู่ ก็ทรงหยุดแสดงธรรมเกี่ยวกับการที่เห็นไฟไหม้ขอนไม้มาใช้เป็นเครื่องเปรียบเทียบ หรือตอนที่พระองค์สอนพระราหุล ก็ทรงใช้ให้พระราหุลไปตักน้ำมาล้างเท้าแล้วสบัดน้ำให้แห้ง  พระองค์ก็เริ่มสองถึงความเป็นสมณะของพระภาษุเป็นลำดับ เหมือนมีน้ำที่ติดก็นกะลา คนที่มีสมณะน้อย เช่น คนที่ไม่พูดความจริงเหมือนกับน้ำที่มีน้อยในกะลา ซึ่งเป็นความคิดที่พระองค์มาสอน  บางคราวทรงกระทำยิ่งกว่านั้น เช่น พระองค์นำภิกษุไปในป่าช้าเดินทางไปไกลๆ ป่าช้ามีทั้งป่าช้าที่เผาและป่าช้าที่นำศพไปทิ้ง สำหรับป่าช้าที่นำศพไปทิ้งจะต้องอยู่ในป่าห่างไกลบ้านคน กว่าจะเดินไปถึงก็ลำบาก  พระองค์ก็อุตส่าห์นำศิษย์ของพระองค์ไปดู  เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยในการสอนได้เห็นวัตถุสิ่งนั้นๆเป็นรอยประทับใจแทนที่จะสอนเฉยๆ เป็นวิธีการที่ประสงค์จะให้มีวัตถุของจริง หรือ นำเอาเรื่องราวในชีวิตจริงๆมาประกอบ เมื่อพระองค์ไม่สามารถจะหาของจริงมาแสดงให้เห็นได้พระองค์ก็ทรงยกเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เช่น การสงครามครั้งนั้น ครั้งนี้มาเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพ  แล้วจึงค่อยๆแสดงธรรมในข้อที่พระองค์ต้องการ  เพื่อเป็นทางที่ชักจูงให้ผู้ฟังสนใจ  เร้าใจ  เชื่อง่ายตามเหตุผล  รวมความว่า  การเรียนจากชีวิตจริงและของจริงนี้เป็นแนวที่ตรงกันกับของพระพุทธเจ้า แม้ในทางโลกก็เช่นกัน  ซึ่งบัดนี้ทางโลกได้มองเห็นความเหลวแหลกแบบท่องจำอย่างนกแก็ว  ซึ่งอาตมาก็เคยเห็นเด้กวัดท่องหนังสือวิทยาศาสตร์ทุกวัน แต่ยังไม่เข้าใจอยู่นั่นเอง  อาตมาก็ใช้สิ่งประกอบให้ดูและอธิบายให้ฟังจนเข้าใจ โดยเด็กไม่ต้องท่องหนังสือเลย  ฉะนั้นการสอบแบบวิธีใช้ของจริงจึงนับว่าเป็นวิธีที่ดี ทันสมัย  ทันเหตุการณ์  ยิ่งสมัยปัจจุบันนี้แล้วเวลาไม่คอยท่าใคร  การแข่งขันกัน  เอาชะนะกันและกัน มีอยู่ทั่วไป  การสอนวิธีใหม่นี้เมื่อเรียนเสร็จแล้ว ก็ทำเป็นจริงอยู่ในขั้นแรกๆ เราอาจจะลำบากใจมากเป็นธรรมดา  นั่นก็เปรียบเหมือนเราฝึกหัดขี่จักรยานตอนแรกๆจะรู้สึกยากลำบาก ล้มไปบ้าง เจ็บไปบ้าง  แต่แล้วสิ่งที่เราทำไปก็จะได้รับผลภายหลัง  จึงเป็นการดีเกินคาด ควรที่เราจะได้แน่ใจในการสอนแบบใหม่นี้ อย่าทำใจร้อนและผลุนผลันเมื่อเรายังไม่ได้ผลทันใจ ควรพยายามและอดทนไว้ก่อนอย่าถือว่าเป็นของประดักประเดิดไม่คุ้มกับความเหน็ดเหนื่อย
  ข้อต่อไปเกี่ยวกับครู  ที่ใช้ของจริงประกอบการเรียนนั้น  คำวาครูนี้ตามหลักทั่วไปตามความหมายของหลักธรรมในทางพุทธศาสนานั้น  คำว่าเป็นมาอย่างไร  ในทางพุทธศาสนานั้นหมายอย่างไร  คำว่าครูนี้หากเราได้ค้นดูในหนังสือวรรณกรรมและตำราต่างๆ  ทางฝ่ายบาลีและสันสกฤต ครูหรือคุรุ นี้ มาจากคำเดิมของบาลีและสันสกฤต  เป็นคำที่ประหลาดและสูงสุดกว่าคำทั้งปวดที่นับเนื่องด้วยกัน  เช่นคำว่า  อุปัชฌาย์ อาจารย์  คำว่าครูนี้มีความซึ้งมากแปลว่า  เป็นผู้นทางวิญญาณ ราชครู คือ ผู้นำทางวิญญาณของพระราชา พระอุปัชฌารย์จารย์ คือ  อาจารย์ผู้สอนวิชาชีพเกี่ยวกับศิลปต่างๆ แม้กระทั่งการดีดพิณ  อาจารย์  คือ  ผู้ฝึกสอนวิชาต่างๆ การที่ส่งครูจากอินเดียไปธิเบตก็คือส่งครูไปสอนศาสนาในธิเบต  ถ้าไปสอนพระราชาเรียกว่า ราชครู  แต่คำว่าครูนี้  เมื่อออกจากพื้นเดิมหรือบ้านเดิมคือออกจากคำบาลีหรือสันสกฤตแล้วทำให้ค่าของคำได้เปลี่ยนแปลงไป  จนกลายเป็นคำธรรมดาไปเสีย  หรือคำว่าวิเศษหรือพิเศษ  ความจริงมีความหมายเหมือนกัน  แต่เมื่อเรานำมาใช้เป็นภาษาไทยก็เปลี่ยนไปหรือำคว่า พิภพ  ก็เปลี่ยนรูปมาเช่นกัน  หรือคำว่า เพชร  ภาษาบาลีสันสกฤตแปลว่าแก็ววิเชียรเมื่อมาเป็นภาษาไทยก็แปลรูปมา ฉันใดก็ดี คำว่าครู  ได้เปลี่ยนความหมายมาจนถึงกับเรียกกันว่า  ครูหนัง  ครูมโนราห์ก็มี  แตความจริงนั้นคำว่าครู  หมายถึงผู้นำทางวิญญาณจึงจะถูกต้อง  ผู้นำทางวิญญาณนั้น คือใคร  เมื่อพิจารณาแล้ว  วิญญาณ คือจิตใจ  เป็นคำที่ตรงกันข้ามทางวัตถุ คนเราร่างคือวัตถุ  จิตใจเป็นของวิญญาณ  แต่หมายถึงจิตใจที่ดำเนินไปได้  คือทำหน้าที่ในการรับรู้ คำว่า วิญญาณ  อาจจะแปลออกไปได้หลายอย่าง  แต่ที่ถูกคือ จิตใจ  มีลักษณะที่อยากรู้อยู่ทุกขณะ  ชอบคิด ชอบฝันอยู่เสมอ  พระพุทธเจ้าได้เปรี่ยนจิตใจคนเราเหมือนกับลิงอยู่นิ่งไม่ได้  ต้องดินรนไปจนถึงที่สุด จะหยุดก็ตรงเมื่อ  ถึงจุดยอดของมัน คือพระนิพพาน  ถ้าไม่ถึงสุดยอดแล้วก็ไม่หยุด  เพราะยังไม่ได้สิ่งที่ปราถนา  แต่ถ้าดิ้นไปถูกก็จะนำไปสู่ทางที่ดี  ถ้าดิ้นไปไม่ถูกทางก็เหมือนกับคนตาบอด จะต้องเดินไปในทางที่ผิด  จึงต้องมีคนคอยแนะนำชักจูง  คือครู  บุคคลผู้ที่จะนำผู้อื่นทางวิญญาณนั้น  หมายถึงวิญญาณของตนเจริญแล้ว  จึงจะสามารถนำวิญญาณของผู้อื่นไปในทางที่ถูกได้ เพราะบุคคลผู้นั้น  วิญญาณได้เดิผ่านในทางที่ถูกแล้ว จึงจะนำวิญญาณของผู้อื่นได้  แม้ในทางโลกก็เช่นกัน จะไม่มีวิญญาณที่ต่ำๆ นำเขา คือ ตนจะต้องพ้นทุกข์เสียก่อนจึงจะนำเขาได้  ซึ่งสามารถที่จะนำเขาไปถึงที่สุดได้  ที่สำคัญมาก็คือพ้นทุกข์  ซึ่งล้วนแต่มีความหมายมากไปในทางที่ผิดบ้างถูกบ้าง  เช่นนั้นบ้าง เช่นนี้บ้าง เช่น คนจนอาจจะนึกว่ายังไม่พ้นทุกข์  คนที่เป็นโรคหรือคนที่ไม่มีชื่อเสียง  ลาภยศ พี่น้องวงศ์ญาติ  ยังไม่พ้นทุกข์  ที่หมายโดยทั่วไปยังไม่ถูกต้อง  มิใช่ไม่มีกิน  ไม่มีชื่อเสียง  ไม่มีญาติพี่น้องแล้วจะมีทุกข์  คำว่า  วิญญาณนี้  ถ้าเดินไม่ถูก แม้คนนั้นจะมีทรัพย์มากมายก็ยังมีทุกข์มากอยู่  ถ้าวิญญาณนั้นเดินถูกทาง  แม้ไม่มีทรัพย์ชื่อเสียงหรือมิตรสหายก็จะไม่มีความทุกข์  ดังเช่นพระอรหันต์ทั้งหลาย ตรงกันข้ามกับผู้ที่มีวิญญาณมืดมัว  ถ้าเปรียบทางวัตุแล้วก็มีทุกข์มาก เพราะวิญญาณเดินทางไม่ถูก ทุกสิ่งในโลกตกเป็นทาสเป็นบริวารของเราได้  ถ้ามีวิญาณแจ่มใสถึงที่สุด  เราก็จะไม่มีทุกข์  



วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

Vroom-Yetton Contingency Model

VROOM-YETTON  CONTINGENCY  MODEL

เป็นทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์  กล่าวคือ  เป็นรูปแบบที่จะช่วยให้ผู้นำสามารถประเมินปัจจัยด้านสถานการณ์
ที่สำคัญที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมว่าเขาควรจะให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยมากน้อยเพียงใด รูปแบบนี้ประกอบด้วยวิธีการตัดสินใจ 5 วิธี โดยใช้สัญลักษณ์และความหมายดังนี้
                 AI ท่านแก้ปัญหาหรือตัดสินใจด้วยตัวเอง โดยใช้ข้อมูลเท่าที่หามาได้
                AII ท่านได้รับข้อมูลที่สำคัญจากผู้ใต้บังคับบัญชา แล้วใช้ประกอบการตัดสินใจของท่าน ท่านอาจจะบอกหรือไม่บอกเกี่ยวกับปัญหาหรือการตัดสินใจของท่านให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ พวกเขาไม่มีบทบาทในการกำหนดปัญหาหรือหาทางแก้ปัญหากับท่าน
                CI ท่านให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นเป็นรายคน ไม่ได้จัดเป็นกลุ่ม แล้วท่านก็ทำการตัดสินใจเอง โดยการตัดสินใจนั้นท่านอาจนำข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชามาใช้หรือไม่ใช้ก็ได้
                CII ท่านให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมแบบเป็นทีม เมื่อได้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแล้ว ท่านก็ตัดสินใจแก้ปัญหาเอง โดยอาจใช้หรือไม่ใช้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ GII ท่านให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมแบบเป็นทีมร่วมวิเคราะห์ปัญหา ประเมินทางเลือกและเลือกทางเลือก
                บทบาทของท่านเป็นเหมือนกับประธานหรือผู้ประสานงาน เพื่อให้มีการอภิปรายร่วมกัน ท่านอาจจะเสนอความคิดเห็นของท่าน แต่ไม่กดดันให้ยอมรับ และท่านเต็มใจที่จะยอมรับและนำเอาทางเลือกที่ได้จากกลุ่มไปปฏิบัติ  ทั้งนี้อักษรA, C, และ G หมายถึง autocratic, consultative และ group ตามลำดับ
                กรณี A และ C มีสองระดับคือ AI, AII และ CI, CII ซึ่งรูปแบบการตัดสินใจดังกล่าว เห็นได้ว่าเริ่มจากการตัดสินใจด้วย ตนเอง (AI) ไปหาการตัดสินใจโดยกลุ่ม (GII) การที่จะช่วยให้ผู้นำกำหนดวิธีที่จะใช้กับสถานการณ์ในสถานการณ์หนึ่งนั้น ต้องอาศัยคำถามที่เกี่ยวกับลักษณะของปัญหาและการตัดสินใจ
             การเลือกแบบการตัดสินใจ ตามแนวคิดของ Vroom and Yetton ) ผู้นำคนหนึ่งๆ สามารถที่จะใช้แบบผู้นำได้ทั้ง5 แบบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งในการบริหารงานที่มีประสิทธิผลผู้นำต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และเลือกแบบการตัดสินใจที่เหมาะสม การตัดสินใจแต่ละแบบได้รับการยอมรับ     เท่าเทียมกันในสถานการณ์ต่างๆ การตัดสินใจแบบอัตตาธิปไตยอาจจะมีแง่ดีในการประหยัดเวลา และในบางสถานการณ์ก็ไม่ได้ลดคุณภาพหรือการยอมรับลงไป แต่อย่างไรก็ตามในสภาพ   การบริหารปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงานมักจะเรียกร้องการมีส่วนร่วม ซึ่งผู้นำอาจต้องให้ผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่าที่เคยปฏิบัติมา
ตัวอย่างแบบการตัดสินใจของผู้นำตามทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของ Vroom and  Yetton เป็นลักษณะการให้คำปรึกษาแนะนำ และ G เป็นลักษณะการตัดสินใจโดยกลุ่ม และมีเลขโรมันกำกับแสดงน้ำหนักความมากน้อย รายละเอียดในตาราง

แบบการตัดสินใจ
คำอธิบาย
อัตตาธิปไตย
สูงสุด
AI
ผู้นำแก้ปัญหาหรือตัดสินใจด้วยตนเองโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนั้น
AII
ผู้นำได้รับข้อมูลที่จำเป็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา และตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเอง

CI
ผู้นำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามาร่วมรับรู้ปัญหาเป็นรายบุคคล เพื่อรับฟังความคิดเห็นและคำแนะนำโดยไม่สอบถามเป็นกลุ่ม จากนั้นจึงตัดสินใจ

CII
ผู้นำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมรับรู้ปัญหาเป็นกลุ่มรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแล้วจึงตัดสินใจ
ประชาธิปไตยสูงสุด
GII
ผู้นำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมรับรู้ปัญหาเป็นกลุ่มบทบาทของผู้นำอยู่ในฐานะประธาน ที่จะไม่เข้าไปมีอิทธิพลในการตัดสินใจของกลุ่ม แต่จะเต็มใจยอมรับและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งกลุ่ม